ปางปฐมเทศนา หรือ ปางแสดงธรรมจักร

 

 

            พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในอิริยาบถนั่ง่ขัดสมาธิ  พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลม เป็นกิริยาแสดงธรรม  พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นประคองลางแห่งทำแบบวางพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลาบ้าง  ยกขึ้นถือชายจีวรบ้าง  ลางแห่งทำแบบนั่งห้อยพระบาทก็มี

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนาน ดังนี้
          ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงมั่นระหทัยในอันจะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็ทรงพิจาณาหาบุคคลผู้สมควรที่พระองค์จะแสดงธรรมโปรดในชั้นต้น ทรงมุ่งหาเฉพาะผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า  ควรจะรับพระธรรมเทศนาเท่านั้น  ฉะนั้น จึงทรงเลือกสรรในหมู่บรรพชิตก่อน เพราะอนาคาริย-บุคคล  คือผู้สละเคหสถาน ตลอดทรัพย์สมบัติออกมาบำเพ็ญพรตอยู่แล้ว เป็นผู้มีกายวิเวก  และมีจิตวิเวก  เป็นสมุฏฐานอยู่  ควรจะสดับธรรมเพื่อผลเบื้องสูงขึ้นไป  จึงทรงระลึกถึง อาฬารดาบสกา-ลามโคตร  และอุทกดาบสรามบุตร  ซึ่งพระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาสมาบัติอยู่ในสำนักของท่านอาจารย์ทั้งสอง ด้วยทรงเห็นว่า มีอุปนิสัยดี สมควรจะได้ธรรมพิเศษ  แต่แลล้วก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า  ดาบสทั้งสองได้สิ้นชีวิตเสียก่อนเมื่อก่อน ๗ วันนี้

                ต่อจากนั้นจึงทรงระลึกถึงพระปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ รูป คือ โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ  และอัสสชิ  ที่เคยปฏิบัติบำรุงพระองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่  ครั้งพระองค์ทรงเลิกทุกกรกิริยา  ด้วยทรงเห็นว่า มิใช่ทางตรัสรู้ ทรงปฏิบิในทางจิต ตามมัฃฌิมาปฏิปทา  จึงภิกษุทั้ง ๕ นี้  ไม่เลื่อมใส เห็นว่าพระองค์คลายความเพียร  เวียนมาเป็นคนมักมากแล้ว ไม่มีทางสำเร็จได้  จึงได้กันทอดทิ้งพระองค์  และหนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ทรงเห็นว่า พระปัญจวัคคีย์มีอินทรีย์แก่กล้า สมควรจะได้ธรรมวิเศษแล้ว  จึงทรงพระมหากรุณาเสด็จดำเนินจาก      โพธิมณฑล  ตำบลอุรเวลาเสนานิคม  ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  อันเป็นที่อยู่ของพระปัญจวัคคีย์ภิกษุ ในเวลาเย็น ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ก็เสด็จถึงสำนักพระปัญจวัคคีย์ ดังพุทธประสงค์

                ในระยะแรกปัญจวัคคีย์ภิกษุ ไม่ยอมเชื่อว่า  พระบรมสาสดาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว  ถึงแก่ใช้วาจาไม่สมควรแย้งพระผู้มีพระภาคว่า เมื่อพระองค์คลายความเพียรเวียนมาเป็นผู้มักมากแล้ว  อย่างไรพระองค์จะได้ตรัสรู้  เพราะพระปัญจวัคคีย์ถือมั่นอยู่ในความรู้ความเห็นของตนว่า  ทุกกรกิริยา เท่านั้นที่เป็นทางจะให้ผู้ปฏิบัติตรัสรู้ธรรมวิเสษได้

                พระบรมศาสดา ต้องตรัสเตือนพระปัญจวัคคีย์ ให้หวรระลึกถึงความหลัง เมื่อครั้งอยู่ปฏิบัติบำรุงพระองค์อยู่เป็นเวลานานว่า  ปัญจวัคคีย์ เคยได้ยินวาจาของพระองค์รับสั่งว่า  ได้ตรัสรู้แล้วอยู่บ้างหรือ ?  แม้วาจาอื่นใดอันไม่เป็นความจริงที่พระองค์เคยรับสั่งเล่น  ยังเคยได้ยินอยู่บ้างหรือ ?  เมื่อพระปัญจวัคคีย์ได้ใคร่ครวญตามพระกระเสรับสั่งเตือน  จึงได้เห็นจริงตามพระวาจา  และปลงใจเชื่อว่า  พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่  แล้วพร้อมกันถวายความเคารพ  คอยสดับพระโอวาทอยู่ตลอดเวลา

ครั้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๘  พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” อันเป็น “ปฐมเทศนา”  โปรดพระปัญจวัคคีย์ภิกษุ  ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ว่า “ ภิกษุทั้งหลาย กามสุขขุลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกาม ๑  อัตตกิลมถา-นุโยค  การประกอบความทุกข์ยากให้เกิดก่ผู้ประกอบ ๑  ทั้งสองนี้ ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้  บรรพชิตไม่ควรเสพ  ส่วนมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปกิบัติเป็นทางกลาง  ที่เราตรัสรู้  เป็นไปเพื่อความสงบระงับ  เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความรู้ดี  เพื่อนิพพาน  คือสิ้นตัณหา เครื่องรัดรึง  เป็นธรรมที่บรรรพชิตควรดำเนิน  ด้วยเป็นทางทำผู้ดำเนินให้เป็นพระอริยะ

ทางสายกลาง
มัชฌิมาปฏิปทานั้น  ได้แก่ทางมีองค์ ๘ คือ  สัมมาทิฏฐิ  ปัญญาอันเห็นชอบ ๑, สัมมาสัง-กัปโป ความดำริชิบ ๑,  สัมมาวาจา วาจาชอบ ๑,  สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๑,  สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๑,  สัมมาวายามะ ความชอบ ๑ ,  สัมมาสติ  ระลึกชอบ ๑,  สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ๑
มัชฌิมาปฏิปทานี้แล  เราได้ตรัสรู้แล้ว ทำให้เกิดดวงตา คือปรีชาญาณ เห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งเญยยธรรมทั้งปวงเป็นไปเพื่อความสงบระงับ  เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความรู้ดี  เพื่อนิพพาน  พร้อมกับทรงประกาศสัสจจธรรมทั้ง ๔ ประการ  คือทุกขสัจจะ  สมุทยสัจจะ  นิโรธสัจจะ  และมัคคสัจจะ  โดยเทศนาบรรหารจำแนกยถาภูตทัศนญานด้วย อาการ ๓๒  บรรจบครบบริบูรณ์  เมื่อจบปฐมเทศนา โกณฑัญภิกขุ  ได้ธรรมจักษุ  บรรลุโสดาปัตติผล  เป็นพระสาวกชั้นพระอริยบุคคลองค์แรก  ในพระพุทธศาสนา

                พระพุทธจริยา  ที่พระองค์ทรงพระมหากรุณาแสดงปฐมเทศนาครั้งนี้ เท่ากับประกาศความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้โลกรู้แจ้งชัด  ด้วยพระปรีชาญาน อันหาผู้เสมอมิได้  ได้พระโกณฑัญญะ เป็นสักขีพยานในการตรัสรู้ ของพระองค์ เป็นนิมิตอันดี  ในการที่พระองค์จะประดิษฐานพระพุทธศาสนา ให้รุ่งเรืองในโลกสืบไป  ข้อนี้เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป ปางนี้เรียกว่า “ปางปฐมเทศนา” หรือ “ปางแสดงธรรมจักร”

 

( จากตำนานพระพุทธรูปปางต่าง นิพนธ์ โดบ พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต (ชอบ  อนุจารี มหาเถระ)
จัดพิมพ์โดย โครงการมูลนิธืหอไตร ๒๕๓๓  หน้า  ๗๔-๗๘ )


         

ไปหน้าสารบาญพระพุทธรูปปางต่างๆ

HOME

 

Free Web Hosting