๔๕. ปางปฐมบัญญัติ พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ ยกฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองตะแคงยื่นตรงออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาบัญญัติพระวินัย เพื่อรักษาพระศาสนาให้ดำรงอยู่นาน
ตำนานพระพุทธรูปปางนี้ มีดังนี้ ดังนั้นเวรัญชพราหมณ์ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผุ้มีพระภาคเจ้า ยังที่ประทับครั้นผ่านการปราศรัย พอสมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้ยินว่า พระองค์ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้เฒ่าผุ้แก่ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อนั้นไม่สมควรเลย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ในโลกนี้ หรือในโลกอื่นเรายังไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะตถาคต พึงไหว้พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ศีระษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป ท่านพระโคดม เป็นคนไม่มีรส พราหมณ์กล่าวตู่ ท่านพระโคดม เป็นคนกล่าวการไม่ทำ ท่านพระโคดม เป็นคนกล่าวความขาดสูญ ท่านพระโคดม เป็นคนช่างเกลียด ท่านพระโคดม เป็นคนกำจัด ท่านพระโคดม เป็นคนเผาผลาญ ท่านพระโคดม เป็นคนไม่ผุดเกิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ เปรียบเสมือนไข่ไก่หลายฟองที่แม่ไก่ฟักดีแล้ว ลูกไก่ตัวใดทำลายกะเปาะฟองด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้น ควรจะเรียกว่าพี่ หรือว่าน้อง ของลูกไก่เหล่านั้น ควรเรียกว่าพี่ ท่านพระโคดม เพราะมันแก่กว่าเขา พราหมณ์ วิชชา ๓ นี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเราได้กำจัดแล้ว เหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น เวรัญชพราหมณ์ ได้สดับแล้วเกิดความเลื่อมใส ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาและปฏิญญาณตนเป็นอุบาสิกา เข้าถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต พร้อมกับทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคกับทั้งภิกษุสงฆ์ ให้อยู่จำพรรษาในเมืองเวรัญชา ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาแล้ว ก็ถวายบังคมทูลลากลับไป บังเอิญในพรรษานั้น เมืองเวรัญชาข้าวแพง หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง ภิกษุสงฆ์ลำบากด้วยอาหาร เที่ยวบิณฑบาตไม่ได้อาหาร ทั้งมารก็ดลใจ เวรัญชพราหมณ์ ให้ลืมพระผู้มีพระภาค กับทั้งภิกษุสงฆ์ที่ตนนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา ไม่ได้มาบำรุงด้วยอาหารเลย เคราะห์ดีที่พ่อค้าม้าชาว อุตตราบท ได้เข้ามาพักแรมตลอดฤดูฝน ในเมืองเวรัญชา กับม้าประมาณ ๕๐๐ พ่อค้าม้า มีศรัทธา ด้พลีเข้าแดง ถวายพระภิกษุองค์ละ แล่งๆ เมื่อภิกษุบิณฑบาตไม่ได้อาหาร ก็เข้าไปรับข้าวแดงที่คอกม้า เอาไปใส่ครกโขลกฉัน แม้พระอานนทท์ ก็ยังได้เอาข้าวแดงไปบดถวายพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคก็เสวย กระยาหารข้าวแดงนั้น แม้พระภิกษุสงฆ์จะลำบากอาหารที่สุดในเวลานั้น ก็มิได้มีความวุ่นวาย มีความอดทนอยู่จำพรรษาด้วยความสงบสุขตลอดเวลา ได้รับสรรเสริญจากพระบรมศาสดาเป็นอันมาก ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถรเจ้า ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผุ้เจริญ พระศาสดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ของพระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ ดำรงอยุ่นาน (เหตุที่พระศาสนา ดำรงอยู่ไม่ได้นาน) พระพุทธเจ้าข้า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พระศาสนา ของพระพุทธเจ้า ทั้ง ๓ พระองค์นั้น ไม่ดำรงอยู่นาน ( เหตุที่พระศาสนา ดำรงอยู่ได้นาน) ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ลุกจากอาสนะ ประนมอัญชลีกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า ที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะแสดงพระปาฎิโมกข์ แก่พระสาวกทั้งหลาย อันจะเป็นเหตุให้พระศาสนา ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ไม่เป็นเสนียด ไม่เป็นโทษ ปราศจากความมัวหมอง บริสุทธิ์ผุดผ่อง ตั้งอยู่ในสารคุณ ทรงคุณธรรม อย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ไม่ปรากฏอาสวัฏฐานิยธรรม จึงไม่ควรบัญญิสิกขาบท ยังไม่ควรแสดงปาฏิโมกข์ก่อน เวรัญชพราหมณ์ ได้สติกราบทูลว่า เป็นความจริง พระเจ้าข้า พระโดดมผู้เจริญข้าพระพุทธเจ้า นิมนต์ให้อยู่จำพรรษา แต่ข้าพระองค์ยังมิได้ถวายไทยธรรม มิใช่ไทยธรรมไม่มี มิใช่ไม่ประสงค์จะถวายก็หาไม่ เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอพระโคดมผู้เจริยพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรบรับภัตรของข้าพระพุทธเจ้า ในวันพรุ่งนี้เถิด รุ่งขึ้นพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เสด็จไปเสวยอาหาร บิณฑบาตรที่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ เมื่อเสด็จภัตตกิจแล้ว เวรัญชพราหมณ์ ได้น้อมผ้าคู่ถวาย พระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ทุกองค์ๆละ ๑ สำรับ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุโมทนา ให้เวรัญชพราหมณ์ มีความอาจหาญชุ่มชื่นในไทยทานที่ถวาย แล้วก็เสด็จกลับ ต่อนั้น ก็เสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกไปตามพระอัธยาศัย เสด็จผ่านเมือง โสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณะกุชชะ โดยไม่ทรงแวะประทับ เสด็จเลยไปเมืองปยาคะ แล้วเสด็จไปนครพารณสี เสด็จประทับพักที่เมืองพารณสี พอสมควรแก่พระอัธยาศัย แล้วเสด็จจาริกไปนครเวลาลี เข้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ครั้งนั้น มีเศรษฐีบุตรคนหนึ่งชื่อว่า สุทิน กลันทบุตร อยู่ในบ้านกลันทคาม ใกล้นคร เวสาลี ได้สดับพระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคแล้ว มีความเลื่อมใส มีศรัทธาจะบวชเป็นภิกษุในพระศาสนา จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระองค์ตรัสว่า ในพระธรรมวินัยนี้ จะรับกุลบุตรบวชเฉพาะผู้ที่มารดาบิดา ได้อนุญาตแล้ว สุทิน กลันทบุตร ดีใจถวายบังคมลากลับบ้าน เข้าไปหามารดา บิดา ขออนุญาตบวช ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดามารดา ไม่ยอมอนุญาต กล่าวว่า พ่อเป็นลูกคนเดียว ทรัพย์สมบัติมีมาก ใครจะเป็นผู้รับ สุทิน กลันทบุตร เสียใจ ไม่บริโภคอาหาร คิดอยู่แต่ว่าอยู่ก็บวช ไม่ใช้บวชก็ตายเท่านั้น อดอาหาร ๗ วัน เพื่อนของสุทิน กลันทบุตร ไปเยี่ยมบอกท่านเศรษฐีว่า ควรอนุญาตให้สุทินบวชเถิด เพราะถ้าไม่ได้บวช ก็จะตาย ไม่มีโอกาสเห็นกัน ถ้าบวชแล้วยังมีเวลาเห็นกัน อนึ่ง การบวชอยู่ในเพศบรรพชิตลำบาก สุทินเคยมีความสุข จะบวชไปได้เท่าไร ไม่นานก็จะสึกมาครองเรือน มารดาบิดาสุทิน กลันทบุตร เห็นร่วมด้วย ก็อนุญาตให้สุทินบวช สุทิน กลันทบุตร ดีใจลุกขึ้นบริโภคอาหาร พักผ่อนให้มีกำลัง ๒-๓ วันแล้ว ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้รับอุปสมบท เป็นภิกษุในพระศาสนา ครั้นบวชแล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธุดงค์คุณถึง ๔ ประการ หลีกออกไปบำเพ็ญสมณธรรม อยู่ในป่า ใกล้บ้านชาววัชชีแห่งหนึ่ง บังเอิญในเวลานั้น วัชชีชนบท ข้าวหายาก ชาวบ้านหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาต ไม่ได้อาหาร มีความลำบาก พระสุทินคิดว่า บ้านชาววัชชีอดหยากเพราะข้าวยากหมากแพง เราควรหลบไปอยู่ที่นครเวสาลีสักชั่วคราว เพราะญาติมิตรที่มั่งคั่งที่นั่นมีมาก จะไม่ลำบากด้วยอาหารนัก จึงได้ออกจากบ้านชาววัชชี ไปอยู่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดาพบเข้า จึงนิมนต์พระสุทิน ให้เข้าไปฉันบิณฑบาตในเรือน ได้เอาเงินทองและทรัพย์สมบัติ ตลอดภรรยาเก่าของพระสุทิน มาเล้าโลมให้พระสุทินสึก พร้อมรำพันถึงตระกูลมีบุตรคนเดียว ไม่มีทายาทรับมรดก พระสุทินก็ตอบว่า ยังยินดีในพรหมจรรย์ มารดาบิดา พระสุทินหมดหวัง จึงขอร้องเป็นวาระสุดท้ายว่า ถ้าเช่นนั้น ก็ขอพืชพันธุ์ไว้เป็นทายาท อย่าต้องให้เจ้าลิจฉวีริบทรัพย์สมบัติของเรา ผู้หาบุตรสืบตระกูลมิได้เลย พระสุทินตอบว่า เพียงเท่านี้อาจทำได้ ในที่สุดพระสุทินก็ได้ร่วมประเวณีกับภรรยาเก่า ได้บุตรชายคนหนึ่ง ชื่อว่า พีชกะ พระสุทินยังมองไม่เห็นโทษ เพราะยังไม่มีสิกขาบทห้ามไว้ ต่อมาพระสุทินไม่สบายใจ รู้สึกว่า ตนประพฤติไม่ดีงาม ไม่เหมือนบรรพชิตทั้งหลาย ตรอมใจ ท่านได้ซูบผอมเศร้าหมอง มีทุกข์โทมนัส ซบเซา ไม่มีความสุขด้วยเรื่องในใจ ครั้นเพื่อนภิกษุไต่ถาม ก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่ง ให้ประชุมภิกษุทั้งหลายตรัสถาม พระสุทินในเรื่องนี้ พระสุทิน ได้กราบทูลตามสัจจ์จริงทุกประการ พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพระสุทิน เพราะเหตุนี้ เป็นอันมาก แล้วรับสั่งว่า เพราะเหตุนี้ เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ :-
แล้วทรงบัญญัติปฐมสิกขาบท กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศ แห่งพระปาฏิโมกข์ ในพระพุทธศาสนา ด้วยประการฉะนี้ จบตำนานพระพุทธรูปปาง ปฐมบัญญัติ แต่เพียงเท่านี้
|